แชร์

รู้ทันโรครองช้ำ รักษาได้...ไม่ต้องผ่าตัด

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.ย. 2024
128 ผู้เข้าชม
รองช้ำ
โรครองช้ำ
โรครองช้ำ หรือ พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นหนึ่งในโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่พบได้บ่อย มักเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของพังผืดใต้ฝ่าเท้า พังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างปกติของเท้าโดยเกาะจากกระดูกส้นเท้า แผ่ไปทั่วบริเวณฝ่าเท้า จากนั้นไปเกาะที่กระดูกนิ้วเท้า พังผืดดังกล่าวทำหน้าที่ช่วยกระจายน้ำหนักไปยังฝ่าเท้าอย่างเหมาะสมในขณะยืนหรือเดิน โรครองช้ำมักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน กลุ่มนักวิ่ง หรือกลุ่มวัยกลางคน


อาการของโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้า หรือรองช้ำ
อาการที่พบบ่อย
- เจ็บส้นเท้า เมื่อยืนหรือเดินก้าวแรกของวัน
- เจ็บที่บริเวณส้นเท้าด้านใน เมื่อยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ๆ
- มีจุดกดเจ็บที่บริเวณส้นเท้าด้านในใกล้กับอุ้งเท้า
- อาจมีอาการบวม แดง บริเวณจุดเกาะพังผืดอักเสบ
      โดยทั่วไป โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าจะทำให้เกิดความรู้สึกปวด ตึง หรือเจ็บคล้ายกับมีของแหลมมาทิ่มบริเวณส้นเท้า ส่วนใหญ่อาการปวดเกิดขึ้นกับเท้าข้างใดข้างหนึ่งแต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้กับเท้าทั้ง 2 ข้าง อาการเจ็บจะเป็นมากช่วงเช้าหลังตื่นนอนแล้วลุกเดิน 2-3 ก้าวแรก จากนั้นอาการปวดจะทุเลาลงหากเดินไปสักพัก จากนั้นอาการปวดอาจเกิดขึ้นได้อีกหากมีกิจวัตรประจำวันที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน หรือปวดเมื่อลุกขึ้นยืนหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน
 
สาเหตุหลักของการเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้า หรือรองช้ำ
การที่เท้ารับน้ำหนักของร่างกาย เช่น ขณะยืน เดิน หรือวิ่ง เกิดการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้าที่ต่อเนื่อง การเดินมากๆ วิ่งมากเกินไป รวมถึง การใส่รองเท้าส้นสูงมากและนานเกินไป  ส่งผลให้พังผืดใต้ฝ่าเท้าถูกยืดออกอย่างฉับพลัน กลไกดังกล่าวหากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จะส่งผลให้พังผืดใต้ฝ่าเท้าได้รับบาดเจ็บ ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้
 
การดูแลตนเองเมื่อเจ็บรองช้ำ
1.กินยา/ทายาลดอักเสบกลุ่ม NSIADs
2.ประคบเย็น หากบริเวณที่เจ็บมีอาการบวม แดง ร้อน และประคบอุ่นหากมีอาการเจ็บเรื้อรัง
3.หมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อฝ่าเท้า และเอ็นรองฝ่าเท้าอย่างสม่ำเสมอ (จากงานวิจัย รองเท้า MAGO สามารถช่วยยืดกล้ามเนื้อน่องได้)
4.เมื่ออาการเจ็บลดลงแล้ว ให้เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อฝ่าเท้าและน่อง
5.ลดหรือเลี่ยงการยืน เดิน วิ่ง เป็นเวลานาน
6.ใส่รองเท้าที่มีพื้นด้านในซัพพอร์ตอุ้งเท้า ทั้งในบ้านและนอกบ้าน
7.ไม่เดินเท้าเปล่าบนพื้นแข็ง
85-90% สามารถหายจากอาการเจ็บรองช้ำ โดยรักษาแบบไม่ผ่าตัด

2 ท่ายืดจากคุณหมอ ช่วยรักษาอาการรองช้ำ
โดยจะมีหลักการเดียวกันกับการใส่รองเท้า MAGO
1.  ท่ายืดพังผืดใต้ฝ่าเท้า
 - นั่งไขว่ห้าง ฝ่าเท้าข้างที่จะยืดอยู่ด้านบน
 - ใช้มือหนึ่งค่อยๆดึงนิ้วเท้าให้กระดกขึ้นอย่างนุ่มนวล ไม่ออกแรงดึงเร็วหรือมากเกินไป
 - ระหว่างยืด จะรู้สึกฝ่าเท้าถูกยืดออกเล็กน้อย แต่ไม่เจ็บ
 - ค้างไว้ในท่าดังกล่าว นาน 20 วินาที (นับ 1 - 20)
 
2. ท่ายืดเอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อน่อง
- ใช้ผ้าคล้องหน้าเท้า
- มือ 2 ข้างจับที่ปลายผ้าแต่ละข้าง
- ดึงผ้าเข้าหาตัว มือ 2 ข้างออกแรงเท่ากัน ให้ข้อเท้ากระดกขึ้น
- ระหว่างยืด จะรู้สึกฝ่าเท้าถูกยืดออกเล็กน้อย แต่ไม่เจ็บ
- ค้างไว้ในท่าดังกล่าว นาน 20 วินาที (นับ 1 - 20)
 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
เท้าเด็กและปัญหาสุขภาพเท้า
เท้าของเด็กน้อย...สำคัญกว่าที่คิด ปัญหาสุขภาพเท้าที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
เท้าแบนในเด็ก (Flat Foot)
เรื่องจริงที่พ่อแม่ควรรู้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy